วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 20/04/58
เวลาเรียน 8:30-12:20 กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


ความรูที่ได้รับ 

ในสัปดาห์นี้ ไม่มรการเรียนการสอน แต่วันนี้อาจารย์ให้มาสอบร้องเพลง
จากการจับฉลากขึ้นมา จับได้เพลงอะไรก็ร้องเพลงนั้น โดยมีคะแนนคือ
ไม่ดูเนื้อร้อง = 5 คะแนน
ดูเนื้อร้อง = 4 คะแนน
ดูเนื้อร้องพร้อมให้เพื่อนร้องพร้อมกัน = 3 คะแนน
ดิฉันจับได้เพลง ฝึกกายบริหาร ร้องเพลงได้ 5คะแนน ดิฉันได้เพลง 

เพลง ฝึกกายบริหาร

ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
  รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
  รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว

ภาพกิจกรรม




ประเมินในชั้นเรียน

ตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ ร้องเพลงออกมาไม่ค่อยดี แต่สุดความสามารถแล้ว
เพื่อน : ตังใจเรียนมีคุยจนถึงคาบสุดท้าย  ร้องเพลงกันไพเราะกันทั้งนั้น
อาจารย์ : วันนี้วันสุดท้ายของการสอน อาจารย์ก้อยังเป็นคนน่ารักเหมือนเดิม ให้คำอวยพรก่อนออกจากห้องเรียน



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 23/04/58
เวลาเรียน 8:30-12:20 กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี

ความรู้ที่ได้รับ

ในสัปดาห์อาจารย์ได้สอนกับการเขียนแผน  ก่อนเข้าสู้บทเรียนอาจารย์มรเกมส์มาให้เล่น

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟู
- การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผล
การเขียนแผน IEP
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ
- เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยาวประจำปี ระยะสั้น
- ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน
- วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพ
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องเหมาะสม
ประโยชน์ต่อครู
- เป็นนวทางในการจัดการเรียนสอนที่ตรงกับความสามารถของความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลง
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างน่อเนื่อง
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
กำหนดจุดมุ่งหมาย
- ระยะยาว
- ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
- กำหนดให้ชัดเจน
-น้องนุ่มช่วยเหลือตนเองได้
-น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้
-น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายของเด็ก
- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3วัน
- จะสอนใคร
- พฤติกรรมอะไร
- เมื่อไหร่ที่ไหน
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
3. การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัด
- การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน
การทำ IEP
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การจัดทำแผน
3. การใช้แผน
4. การประเมิน

ภาพกิจกรรม




ประเมินในชั้นเรียน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ มีส่วนร่วมในการตอบ มีความสุขกับการทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาสอนในวันนี้
เพื่อน : ตังใจเรียนมีคุยเป็นบางเวลา เพื่อนๆมีความสุขกับการเล่นเกมส์ในวันนี้
อาจารย์ : อาจารย์ได้สอน การส่งเสริมทักษะต่างๆ พร้อมอธิบายและยกตัวอย่างอย่างเข้าใจ










บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 16/04/58
เวลาเรียน 8:30-12:20 กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


ไม่มีการเรียนการสอน



วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 09/04/58
เวลาเรียน 8:30-12:20 กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี





ความรูที่ได้รับ
ก่อนเข้าสู่เนื้อหาอาจารย์ได้เฉลยข้อสอบ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย

- การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
- เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้
-พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
-อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
เด็กพิเศษเรียนรู้ได้ดีโดยการเลียนแบบเพื่อน พ่อแม่ และครู
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
-เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
- ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
- ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
- การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
- ต่อบล็อก
- ศิลปะ
- มุมบ้าน
- ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
-รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
ความจำ
- จากการสนทนา
- เมื่อเช้าหนูทานอะไร
- แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
- จำตัวละครในนิทาน
- จำชื่อครู เพื่อน
- เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
- พูดในทางที่ดี
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
- ทำบทเรียนให้สนุก

ภาพกิจกรรม






ประเมินในชั้นเรียน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ มีส่วนร่วมในการตอบ มีความสุขกับการทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาสอนในวันนี้
เพื่อน : ตังใจเรียนมีคุยเป็นบางเวลา และมีการขอหยุดเรียนในสัปดาห์หน้า
อาจารย์ : อาจารย์ได้สอน การส่งเสริมทักษะต่างๆ พร้อมอธิบายและยกตัวอย่างอย่างเข้าใจ อาจารย์ใจดี ให้นักศึกษาได้หยุด1วัน เนื่องจากนักศึกษาได้ขอหยุดยาวสงกราน





วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 2/04/58
เวลาเรียน 8:30-12:20 กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


* ไม่มีการเรียนการสอน  *

  

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 26/03/58
เวลาเรียน 8:30-12:20 กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


วันนี้เป็นการสอบเก็บคะแนน เป็นข้อเขียน ทั้งหมด5ข้อ เต็ม10คะแนน ข้อสอบเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เราเรียนกันมา เรื่องของพฤติกรรมเด็กในแบบต่างๆ เราจะมีวิธีแก้ไขหรือดูแลอย่างไรค่ะ


         

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 19/03/58
เวลาเรียน 8:30-12:20 กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


ความรู้ที่ได้รับ 

ในสัปดาห์นี้ ก่อนเข้าสู้บทเรียน อาจารย์ได้ให้เล่นเกมส์

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากขึ้นที่สุด  การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
-เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
-อยากทำงานความสามารถ
-เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือ ตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่
 ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
-การได้ทำด้วยตนเอง
-เชื่อมั่งในตนเอง
-เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง 
-ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น 
-ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป 
-ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
-หนูทำช้า  หนูยังทำไม่ได้
จะช่วยเมื่อไหร่
-เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
-หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว 
-เด็กรู้สึกยังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
-มักช่วยเด็กในช่วยกิจกรรม
-เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย
-หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
-มักช่วยเด็กในช่วยกิจกรรม
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
-แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
-เรียงลำดับตามขั้นตอน
การเข้าสวม 
-เข้าไปในห้องส้วม
-ดึงกางเกงลงมา
-ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
-ปัสสาวะหรืออุจจาระ
-ใช้กระดาษชำระเซ็ดก้น
-ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
-กดชักโครกหรือตักน้ำราด
-ดึงกางเกง
-ล้างมือ
-เช็ดมือ
-เดินออกจากห้องส้วม
การวางแผนทีละขั้น
-แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่ยอให้มากที่สุด
สรุป
-ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
-ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
-ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
-เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ
ภาพกิจกรรม







ประเมินในชั้นเรียน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ มีส่วนร่วมในการตอบ มีความสุขกับการทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาสอนในวันนี้
เพื่อน : ตั้งใจทำงาน ถึงแม้จะคุยเสียงดังไปหน่อย ช่วยกันตอบคำถามวันนี้ดูเพื่อนๆมีความสุขกับกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้เล่นวันนี้
อาจารย์ : อาจารย์ได้สอน การส่งเสริมทักษะต่างๆ พร้อมอธิบายและยกตัวอย่างอย่างเข้าใจและยังมีเกมส์ให้เล่นทำให้นักศึกษามีความสุขก่อนเรียนทุกครั้ง

 









วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 12/03/58
เวลาเรียน 8:30-12:20 กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


ความรู้ที่ได้รับ

ในสัปดาห์นี้ ก่อนเข้าสู่บทเรียน อาจารย์ได้นำเกมส์สนุกมาให้นักศึกษาเล่น เกมส์ทุ่งหญ้าซาวันน่า

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา
-เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-ถามหาสิ่งต่างๆไหม
-บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
-ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
-การพูดตกหล่น
-การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
-ติดอ่าง
การปฎิบัติของครูและผู้ใหญ่
-ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
-ห้ามบอกเด็กว่า พูดช้าๆ ตามสบาย คิดก่อนพูด
-อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
-อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
-ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
-เด็กทีี่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
-ทักษะการรับรู้ภาษา
-การแสดงออกทางภาษา
-การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
-การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-ให้เวลาเด็กได้พูด
-คอยให้เด็กตอบ ชี้แนะหากจำเป็น
-เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว
-เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
-ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม  เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
-กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง
-เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
-ใช้คำถามปลายเปิด
-เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไรยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
-ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
ภาพกิจกรรม







ประเมินในชั้นเรียน

ตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ มีส่วนร่วมในการตอบ มีความสุขกับการทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาสอนในวันนี้
เพื่อน : ตั้งใจทำงาน ถึงแม้จะคุยเสียงดังไปหน่อย ช่วยกันตอบคำถามวันนี้ดูเพื่อนๆมีความสุขกับกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้เล่นวันนี้
อาจารย์ : อาจารย์ได้สอน การส่งเสริมทักษะต่างๆ พร้อมอธิบายและยกตัวอย่าง อย่างเข้าใจและยังมีเกมส์ให้เล่นทำให้นักศึกษามีความสุขก่อนเรียนทุกครั้ง


  
 

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 05/03/58
เวลาเรียน 8:30-12:20 กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


ไม่มีการเรียนการสอน
หมายเหตุ   เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ


 

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 26/02/58
เวลาเรียน 8:30-12:20 กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี

ไม่มีการเรียนการสอน
หมายเหตุ เนื่องจากสัปดาห์นี้สอบปลายภาค



 

วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 19/02/58
เวลาเรียน 8:30-12:20 กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


ความรู้ที่ได้รับ

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษก่อนจะเข้าสู้เนื้อหาอาจารย์ได้นำกิจกรรม เกมส์ มาให้นักศึกษาได้เล่น เพลินความสนุกสนามก่อนเข้าสู่บทเรียน

ทักษะทางสังคม
  -เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคมไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่
  -การอยู้ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
  -การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
  -เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
  -ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
  -เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีการเล่น ไม่รู้จะเล่นอย่างไร
  -ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
  -จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
  -ครูจดบันทึก
  -ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
  -วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
  -คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
  -ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ2-4 คน
  -เด็กปกติทำหน้าที่เหมือนครุ ให้เด็กพิเศษ
ครูปฎิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
  -อยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ
  -ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
  -ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
  -เอาวัสดุมาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
  -ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
  -ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
  -ทำโดย การพูดนำของครู
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
  -ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
  -การให้โอกาส
  -เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
  -ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
ภาพกิจกรรม











ประเมินในชั้นเรียน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ มีส่วนร่วมในการตอบ มีความสุขกับการทำกิจกรรมที่อาจารย์นำมาสอนในวันนี้
เพื่อน : ตั้งใจทำงาน ถึงแม้จะคุยเสียงดังไปหน่อย ช่วยกันตอบคำถามวันนี้ดูเพื่อนๆมีความสุขกับกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้เล่นวันนี้
อาจารย์ : อาจารย์ได้สอน บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม พร้อมอธิบายและยกตัวอย่าง อย่างเข้าใจ

                                
 



วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 12/02/58
เวลาเรียน 8:30-12:20 กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี

ความรู้ที่ได้รับ 

ในสัปดาห์นี้ได้เรียนเรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ ก่อนจะเข้าสู่บนเรียน อาจารย์ได้ให้วาดมือของตนเองโดยใช้ ถุงมือใส่มือตนเอง ว่านักศึกษาจะจำมือหรือขณะของมือตนเองได้หรือไม่

ทักษะของครูและทัศนคติ
การฝึกเพิ่มเติม
- อบรมระยะสั้น
-สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
-เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
-ครูต้องเรียนรู้ มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
-รู้จักเด็กแต่ละคน
-มองเด็กให้เป็นเด็ก
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า 
-การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
ความพร้อมของเด็ก
-วุฒิภาวะ
-แรงจูงใจ
-โอกาส
การสอนโดยบังเอิญ
-.ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
-เด็กเข้าหาครูมากเท่าไรยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
-ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
-ครูต้องมีความสนใจเด็ก
-ครูต้องมีความรู้สึกดีต่อเด็ก
ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
-ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
อุปกรณ์
-มีลักษณะง่ายๆ
-ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
-เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
ตารางประจำวัน
-เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่ประจำ
-กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
-เด็กจะรู้สึกและมั่นใจ
-คำนึงความพอเหมาะของเวลา
ทัศนคติของครู
การยืดหยุ่น
-การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
-ยอมรับของเขตความสามารถของเด็ก
-ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
การใช้สหวิทยาการ
-ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
-สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้
-เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
-เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการใช้แรงเสริม
-ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
-มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็กและมักเป็นผลในทันที
-หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงหายไป
วิธีการแสดงออกถึงแรงจากผู้ใหญ่
-ตอบสนองด้วยวาจา
-การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
-สัมผัสทางกาย
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
-ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
-ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท
-ย่อยงาน
-ลำดับความยากง่ายของงาน
-การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
-สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
-วิเคราะห์งานกำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละชิ้น
-สอนจากง่ายไปยาก
-ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
การกำหนดเวลา
-จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องการมีความเหมาะสม
การลดหรือหยุดแรงเสริม
-ครูจะงดแรงเสริมเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
-ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
-เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ด
ภาพกิจกรรม





ประเมินในชั้นเรียน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ มีส่วนร่วมในการตอบ วันนี้หนูคุยมากกับพิเศษ จนอาจารย์เรียกชื่อหนู สัปดาห์หนูจะพยายามไม่คุยค่ะ
เพื่อน : ตั้งใจทำงาน ถึงแม้จะคุยเสียงดังไปหน่อย ช่วยกันตอบคำถามวันนี้เพิ่มดูตื่นเต้นกับการเซอรไพรงานวันเกิดอาจารย์
อาจารย์ : อาจารย์ได้สอน บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม พร้อมอธิบายและยกตัวอย่าง อย่างเข้าใจ